12 กันยายน 2552

2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ
1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella
2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast
3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin
4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ
4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม เช่น

4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย


การสืบพันธุ์ของ Cyanocacteria
1. การแบ่งตัว Binary fission.
2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย
3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete

ประโยชน์
- เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2
- Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์
- Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง N ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่องว่างกลาง

การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย เเละประโยชน์ของเเบคทีเรีย

การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย
ส่วนใหญ่แบคทีเรียสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียกว่า Transverse Binary Fission บางชนิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ 3 รูปแบบคือ
1. Conjugation คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยการจับคู่สัมผัสกันโดยตรง
2. Transformation คือ การถ่ายทอด DNA ตัวเปล่า (naked DNA) หรือ DNA อิสระจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
3. Transduction คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยอาศัยไวรัสหรือ Bacteriophage การจำแนก Bacteria อาศัยลักษณะดังนี้
1. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง
2. ตามอาหารที่ได้รับ แบ่งเป็น
2.1 พวก Autotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้
2.2 พวก Heterotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองไม่ได้
3. การติดสีของผนังเซลล์ [ Gram stain ] แบ่งเป็น
3.1 Gram positive เป็นพวกที่ติดสีย้อมคริสตัลไวโอเลต
3.2 Gram negative เป็นพวกที่ติดสีย้อมซาฟานิน
4. การหายใจ ความต้องการใช้อากาศหรือ O2
5. ลักษณะการเลี้ยงเชื้อ : อาหาร สภาพแวดล้อม
6. ลักษณะทางแอนติเจน
ประโยชน์ของแบคทีเรีย
1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง
2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย
3. การทดสอบคุณภาพน้ำ
4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ
5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ
6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช
โทษของแบคทีเรีย
1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่

โครงสร้างของแบคทีเรียที่แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ

1. แบคทีเรียมี ribosome ชนิด 70 s และสารพันธุกรรมเป็น DNA โดย (single circular DNA)
2. ผนังเซลล์ (cell wall) ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ป้องกันเซลล์แตกประกอบด้วย peptidoglycan ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ N-actyl glucosamine (NAG) และN-acytyl muramic acid (NAM) และ มี amino acid หลายชนิด และ lipoprotein lipopolysac teichoic acid
3. Capsule เป็นส่วนที่อยู่นอกผนังเซลล์ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และทนต่อการทำลายของเม็ดเลือดขาว พบแคปซูลในแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น แบคทีเรียที่มีแคปซูลมักก่อโรครุนแรง
4. pilil มีลักษณะเป็นขนคล้ายแฟลกเจลลา แต่มีขนาดเล็ก มีลักษณเป็นท่อกลวง ไม่มีหน้าที่ในการเคลื่อนที่แต่ช่วยให้เกาะยึดติดกับผิววัสดุ และ Sex pilli ช่วยในการถ่ายทอด DNA ใน Conjugation
5. mesosome เป็นส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนยื่นเว้าเข้าไปในcytoplasm จะพบบริเวณ ที่จะมี การแบ่งเซลล์
6. Flagella เป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่ แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกที่เคลื่อนที่ได้ แฟลกเจลลาประกอบด้วยเส้นใยเส้นเดี่ยว ๆ ซึ่งต่างจากแฟลกเจลลาของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แบคทีเรียอาจมีแฟลกเจลลา 1 เส้นจนถึงหลายร้อยเส้น และอยู่ได้หลายตำแหน่ง ส่วนของแฟลกเจลลา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ basal body , hook และ filament
7. Plasmid เป็น DNA ที่อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย ลักษณะของพลาสมิดเป็น DNA วงแหวน และเป็นเกลียวคู่ สามารถจำลองตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดไปยังแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ พลาสมิดมีหลายชนิด บางชนิดควบคุมการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเซลล์ บางชนิดควบคุมการดื้อต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ
8. endospore เป็นโครงสร้างที่พบในแบคทีเรียบางชนิด เป็นโครงสร้างที่ทำให้แบคทีเรียมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เอนโดสปอร์เกิดขึ้นภายในเซลล์และสร้างได้ 1 สปอร์ต่อ 1 เซลล์จะไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ แต่ถือว่าเป็นการดำรงชีพ

1.ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)

สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ได้แก่ แบคทีเรีย ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟดา คือ

1. มีเซลล์ขนาดเล็ก

2. ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะคือ

2.1 รูปร่างกลม เรียกว่า coccus (coccus = เอกพจน์ cocci = พหูพจน์)

2.2 รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus (bacillus = เอกพจน์ bacilli = พหูพจน์)

2.3 รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum (spirillum = เอกพจน์ spirillum = พหูพจน์)


3. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่น แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกลมมีการเรียงตัวหลายแบบ - เซลล์ทรงกลม 2 เซลล์เรียงต่อกันเรียก diplococci - เซลล์หลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นลูกโซ่เรียก streptococci - เซลล์หลายเซลล์เรียงกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียก staphylococci - เซลล์ 8 เซลล์ เรียงเป็นลูกบาศก์เรียก sarcina แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกระบอก ไม่ค่อยมีแบบแผนการเรียงตัวที่เด่นชัดเท่าทรงกลม แต่อาจมีการเรียงตัวของเซลล์เนื่องมาจากระยะการเจริญเติบโตหรือขึ้นกับสภาพของการเพาะเลี้ยงในอาหาร แบคทีเรียที่มีรูปร่างแบบเกลียว มักอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความยาว จำนวนเกลียว ความโค้ง


4. แหล่งที่พบแทบทุกแห่งในดินในน้ำ ในอากาศ แหล่งที่เป็นน้ำพุร้อน เขตหิมะ ทะเลลึก

5. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร

5.1 Photoautotroph

5.2 Photoheterotroph

5.3 Chemoautotroph

5.4 Chemoheterotroph

6. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ

6.1 Aerobic bacteria

6.2 Facultative bacteria

6.3 microaerophilic bacteria

6.4 Anaerobic bacteria

7. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ

7.1 Psychrophile

7.2 Mesophile

7.3 Thermophile

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
1.
ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
2.
ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)